วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กลไกดำเนินงานนโยบายต่างประเทศของไทย

กลไกดำเนินงานนโยบายต่างประเทศของไทย
  นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ไม่มาบรรยากาษทางการเมืองภายในประเทศจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ หน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยก็คือระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และแม้จะเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ในปลายทศวรรษที่ 20 ซึ่งภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปมีบทบาทและมีส่วนร่วมโดยตรงในกิจการระหว่างประเทศมากขึ้นก็ตาม แต่กลไกที่ทำหน้าที่ประจำในการดำเนินนโยบายต่างประเทศก็ยังเป็นระบบราชการอยู่นั้นเอง
ซึ่งองค์กรหรือหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย  ได้แก่

1.ผู้นำรัฐบาล
ผู้นำรัฐบาลอาจเป็นนายนกรัฐมนตรีหรือหัวหนาคณะรํฐประหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับระบอบการปกครองในขณะนั้น ผู้นำรัฐบาลมักมีบทบาทสูงสุดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยอาจจะเป็นผู้กำหนดนดยบายขึ้นเองตามวิสันทัศน์ของตน หรือเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆการกำหนดนดยบายต่างประเทศอาจเป็นการประกาศโดยนายกรัฐมนตรีเองหรือทำเป็นมติของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก็ได้ เช่น จอมพล ป. พิบูลสงครามได้โฆษณาชวนเชื่อนโยบายที่จะสร้างไทยให้เป็นมหาอำนาจในเอเชียคเนย์ในสมันสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเอกชาย ขุณหะวัณ ได้ประกาศนโยบายที่จะเปลี่ยนสนามรบในอินโดจีนให้กลายเป็นสนามการค้า เป็นต้น ผู้นำรัฐบาลไม่ได้ทำหน้าที่เพียงหัวหน้าคณะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกิจการระหว่างประเทศของไทยเท่านั้น  แต่ยังอยู่ในฐานะตัวแทนของประชานชนและประเทศไทยในการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศอีกด้วย การตัดสินใจและการกระทำใดๆไม่ว่าจะโดยลำพังหรือองค์คณะ ผู้บริหารประเทศจึงมีผลผูกมัดต่อประเทศไทยโดยรวม นอกจากการแสดงบทบาทโดยการประกาศนโยบาย  การเข้าร่วมประชุม การเจรจา การทำสนธิสัญญา ตลอดจนการเดินทางไปเยี่ยมมิตรประเทศแล้ว ยังเป็นผู้บังคับบัญชาสั่งการหน่วยงานราชการในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยทั้งหมดด้วย

2. สภาความมั่งคงแห่งชาติ
   ช่วงที่ทหารมีอำนาจในการปกครองประเทศในยุคสงครามเย็น ไทยมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง นโยบายด้านความมั่นคงทางการเมืองและการทหารเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเหนือด้นเศรษฐกิจและสังคมสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีบทบาทเป็นอย่างมากในการกำหนดแนวนโยบายด้านการต่างประเทศ องค์กรนี้เป็นที่รวมของบุคคลสำคัญด้านความมั่ฃนคงของประเทศ คือ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน และประกอบด้วยกรรมการอันได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขาธิการ ในบางสมัยรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเวลาเดียวกัน เช่น จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น และรองนายกรัฐมนตรีก็ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นกองทัพหลักของประเทศด้วย ซึ่งได้แก่ จอมพลประภาส จารุเสถียร ดังนั้นสภาความมั่นคงจึงเป็นที่รวมสูงสุดของข้อมูลและความลับทางราชการ การประชุมปรึกษาหารือและการตัดสินใจในด้านต่างประเทศจึงอยู่ที่องค์กรนี้

3.กระทรวงการต่างประเทศ
     กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดำเนินนโยบายด้านการติดต่อกับต่างประเทศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผุ้นำนโยบายสรัฐบาลมามอบให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ ภายในกระทรวงมีการแบ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบออกเป็น กรมการกงสุล กรมพิธีการฑูต กรมยุโรป กรมอาเซียน กรมเอเซียตะวันออก กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กรมอเมริกาและ แอฟริการใต้ กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฏหมาย และกรมสารนิเทศ นอกจากนี้ยังมีสถานที่เอกอัครราชฑูตในต่างประเทศ และคณะฑูตไทยถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประจำอยู่นอกประเทศด้วย

4. กระทรวงกลาโหม
    บทบาทด้านการรักษาความมั่นคงของชาติและป้องกันประเทศเป็นภารกิจของกระทรวงกลาโหม ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกเหนือจากการฑูต การค้า กฏหมายและสังคมแล้วการทหารก็นับว่ามีบทบาทมาก ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ได้มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความขัดแย้งและสงครามระหว่างชาติมากที่สุด ทหารจึงมีบทบาทสำคัญในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหลายองค์กรการจัดตั้งในลักษณะพันธมิตรทางทหาร หรือเป็นความร่วมมือด้านความมั่นคง เช่น องค์การสนธิสัญญษป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่งคง เป็นต้นความใกล้ชิดระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาช่วงยุคสงครามเย็ฯก็มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือด้านความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคอมมิวนิสต์ก็ไม่ราบรื่นนัก ประกอบกับผู้นำรัฐบาลหลายสมัยเป็นทหาร ดังนั้นกระทรวงกลาโหมไทยจึงมีบทบาทอย่างมากในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

5. กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการ้ากับต่างประเทศมานานแล้ว แต่ในยุคที่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีครอบงำโลกและการค้าระหว่างประเทศฟุ้งเฟื่องนี้ ิ่งทำให้กระทรวงพาณิชย์มีบทบาทมากขึ้นไปอีก การขยายตัวของธูรกิจและการค้าข้ามชาติทำให้กระทรวงพาณิชย์ต้องเพิ่มการให้บริการทั้งแก่บริษัทไทยและบริษัทต่างชาติ ช่วยพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจการส่งออกของไทย จัดระบบภาษีการค้า และควบคุมดูแลด้านการกฏหมาย หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมทรัพย์สินทางปัญญา

6. กระทรวงอุตสาหกรรม
   การพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกเน้นทั้งด้านการลงทุนจากต่างชาติและการพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมไทยเพื่อการส่งออก ซึ่งในคริต์ศตวรรษที่ 21 นี้ที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนในไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงไปได้แก่ สหรัฐอเมริกา และยุโรป สินค้าอุตสาหกรรมของไทยยังมีน้อยส่วนหนึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหรือสินค้าการเกษตรแปรรูป ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องกระป๋อง ส่วนที่เป็นอุตสาหกรรมเบา ได้แก่ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์เหล็ก


7. กระทรวงแรงงาน
  ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศทำให้คนไทยจำนวนมากเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศและมีปัญหาเศรษฐกิจของเพื่อนบ้านก็ทำให้ชาวต่างชาติอพยพเข้ามาหางานทำไทยมากมาย ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับแรงงานไทยที่อยู่ในต่างประเทศและควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าวในไทย เป็นเรื่องราวของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านสังคม กระกรวงแรงงานจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านกฏหมายและสวัสดิการสังคมแก่แรงงานไทย วางระเบียบกฏเกณฑ์ควบคุมดูแลบริษัทจัดหางานที่ส่งคนงานไปต่างประเทศและติดต่อประสานงานกับรัฐบาลของประเทศผู้รับแรงงานไทย ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจัดการตรวจสอบและจดทะเบียนคนงานให้ถูกต้องตามกฏหมาย จัดส่งที่ลักลอบเข้าเมืองหรือกระทำผิดกฏหมายกลับประเทศ และดูแลให้สวัสดิการการทำงานตามหลักมนุษยธรรม ทั้งนี้เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เกี่ยวข้อง
 


วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การดำเนินนโยบายต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการระบบการเมืองการปกครองแต่ละสมัย

การดำเนินนโยบายต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการระบบการเมืองการปกครองแต่ละสมัย 

1. สมัยราชาธิปไตย
  ในสมัยโบราณที่ไทยมีการปกครองแบบราชาธิปไตย  อำนาจสูงสุดทางการเมืองอยู่ที่พระมหากษัตริย์
ทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจในเรื่่องต่างๆเกี่ยวกับกิจบ้านการเมือง ดั้งนั้นบทบาทและดำเนินนโยบายต่างประเทศจึงขี้นอยู่กับพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ  หน่วยงาน  กรมกอง หรือเสนาบดี ที่ทรงแต่งตั้งให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการต่างประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น กรมคลั้งซึ่งรับผิดชอบด้านการติดต่อค้าขายกับประเทศก็ดื เจ้าหัวเมืองประเทศราชซึ่งทรงแต่งตั้งหรือยอมรับให้ปกครองแว่นแคว้นที่เข้ามาสวามิภักดิ์อย่างเชียงใหม่หรือปัตตานีก็ดี แล้วแล้วแต่ต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศตาม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสิ่น ทั้งนี้รวมถึงนโยบายความสัมพันธ์ด้านการเมือง  ความมั่งคง การค้าและวัฒนธรรมด้วย การผูกไมตรีเป็นมิตรหรือทำสงครามแผ่ขยายเดชานุภาพการจะเปิดกว้างทางการค้ากับต่างประเทศกับต่างชาติหรือปิดประเทศ ตลอดจนการจะยอมรับหรือกีดกันศาสนา
วัฒนธรรมและเชื้อชาติ ก็ขึ้นอยู่กับพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์เป็นหลัก หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่เพียงดำเนินการให้เป็นไปตามพระบรมราชโองการเท่านั้น ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่่างประเทศก็คือความมั้้นคงและความยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักร หรือแผ่ขยายพระบรมเดชานุภาพ
 
   สมัยที่พระมหากษัตริย์เข้มแข็ง เจ้านายเชื้อพระวงค์และขุนนางจะมีบทบาทน้อยมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ  โดยจะทำหน้าที่เพียงการกราบบังคมทูลรายงานข้อมูลให้ทรงทราบเพื่อการตัดสินพระทัยแล้วรับไปปฏิบัติ แต่ในบางสมัยที่พระมหากษัตริย์อ่อนแอ เหล่่าพระประยูรญาติและเสนาอำมาตย์บทบาทร่วมในการกำหนดนโยบายต่างประเทศมากขึ้น เช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพพดิ พระราชโอรสองค์รองคือสมเด็จพระมหินทราธิราชทรงมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศแข็งกร้าวต่อพม่าตั้งแต่มิได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาเมื่อพระองค์ได้สลับขึ้นครองราชย์กับพระราชบิดาในครวาที่พระมหาจักรพรรดิทรงถูกพม่าจับตัวไปเป็ฯเชลยศึกยังกรุงหงสาวดีและในคราวที่ทรงออกผนวช พระองค์ยิ่งมีอำนาจอย่างเต็มที่ แม้ภายหลังพระองค์จะถวายราชสมบัติคืนแด่พระราชบิดาแล้วกลับมาเป็นพระมหาอุปราช พนะองค์ก็ยังทรงมีอำนาจมากในที่สุดเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชทรงขึ้นครองราชย์เมทื่อ ค.ศ.2111 ทรงตัดสินพระทัยทำสงครามกับพม่าแทนการอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเร่งน่อง และ กรุงศรีอยุธยาต้องพ่ายแพ้แก่พม่าในปีถัดมา ในพ.ศ.2172 สมัยสมเด้จพระอาทิตยวงศ์แห่งราชวงศ์สุโขทัยมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา สหมุพระกลาโมสุริยวงศ์ก็กุมงานบ้านเมืองและการติดต่อกับต่างชาติโดยเด็ดขาด  ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เจ้าพระยาวิชาแผนทร์ซึ่ง
เป็นฝรั่งที่รั้งตำแหน่งพระยาพระคลังก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสมเด็จพระนารายณ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญสัมพันธ์ไมตรีอย่างใก้ชิดกับฝรั่งเศส เป็นต้น

2. สมัยอำมาตยาธิปไตร
  หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 อำนาจการเมืองมักอยู่ในมือของกลุ่มทหารเพราะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจบ่อยครั้ง มีเพียงช่วงสั้นๆบางเวลาที่นักการเมืองฝ่ายพลเรือนสามารถขึ้นบริหารประเทศได้แต่อย่างไรก็ตามชนชั้นปกครองไม่ว่ากลุ่มใดก็มักจะมาจากข้าราชการหรืออดีตข้าราชการทั้งสิ้น เมื่อผู้นำหรือหัวหน้ารัฐบาลส่วนใหญ่ ตลอดจนคณะรัฐมนตรีหลายคนมาจากทหาร บทบาทของทหารในการกำหนดนโยบายต่างประเทศจึงมีมากกว่ากลุ่มอื่นๆ แม้แต่ข้าราชการพลเรือน รัฐสภาไม่ค่อยได้ทำหน้าที่กลั่นกรองและให้ความเห้นชอบต่อนโยบายต่างประเทศของวรัฐบาลอย่างเต็มที่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าคณะปฏิวัติจะมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด คณะรัฐมนตรีและรัฐสภามีหน้าที่เพียงให้ความเห็นอบต่อนโยบายต่างประเทศที่
ผู้นำรัฐบาลกำหนดมาเท่านั้น

 
  ในสมัยรัฐมนตรี  จอมพลสฤษด์ธนะรัชต์ ได้ใช้หลัการพ่อขุนอุปถัมภ์ในการปกครองประเทศ ซึ่งก็เป็นรูปแบบหนึ่งของเผด็จการทหาร โดยมีคำกล่าวประจำตัวว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียนว"
จอมพลสฤษด์ฝักใฝ่สหรัฐอเมริกาและต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ดังนั้นนโยบายต่างประเทศของไทยที่กำหนดโดยจอมพลสฤษด์จึงได้แก่การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ และประกาศความเป็นศัตรูกับบรรดาประเทศคอมมิวนิสต์ ซึงรวมถึงการขัดขวางการดำเนินงานใดๆที่จะมีสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าจะเป็นการฑูตหรือการค้า ดังนั้นคณะตัวแทนที่ไม่เป็นทางการซึ่งถูกส่งไปสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างลับๆปลายสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อปูทางในทางเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีนจึงถูกจับกุมเมื่อเดินทางกลับประเทศไทยในสมัยจอมพลสฤษด์
และนโยบายดังกล่าวถูกยกเลิกดดยสิ้นเชิง

3.สมัยประชาธิปไตร
  หลังเหตุการณื 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 การกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทยมักไม่ได้ัขึ้นอยู่กับผู้นำทางการเมืองอย่างเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไปแต่มักจะมีตัวแสดงอื่นๆในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างประเทศด้านต่างๆ ตัวแสดงเหล่านี้ได้แก่ พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ กลุ่มผลประโยชน์ และ สื่อมวลชน ซึ่งนับวันจะมีบทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์และหลังการปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูธฉบับ พ.ศ2540
 
   ในสมัยนายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธณณมศักดฺ์ (พ.ศ2516-2517)การดำเนินนโยบายใดๆของรัฐบาลรวมถึงนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล มักจะรับฟังเสียงของนิสิต นักศึกษา ประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์เสมอ และแม้ว่าในช่วงดังกล่าวจะยังใช้รัฐธรรมนูณฉบับ พ.ศ.2515 ที่ให้อำนาจอย่างมากแก่นายกรัฐมนตรี แต่นายสัญญาก็ไม่เคยใช้อำนาจเด็โขาดของนายกรัฐมนตรีเลย ในสมัยดังกล่าวประชาชนมีเสรีภาพที่จะศึกษา ติดตามข่าวสารและแสดงออกเกี่ยวกับต่างประเทศ  ไม่ว่าประเทศนันๆจะมีระบบการเมืองการปกครองแบบใด ซึ่งถือเป็นการสร้างบรยากาศอันดีในการปูพื้นฐานเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในสมัยนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ศึกฤทธ์ ปราโมธ ( พ.ศ. 2518-2519) นโยบายต่างประเทศให้สหรัฐอเมริกาถอนฐานทัพอากาศออกจากประเทศไทยก็ดี นโยบายต่างประเทศในการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูนกับสาธารณประชาชนจีน แม้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกแต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากกะแสเรียกร้องของนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ต้องการให้ไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเป็นกลางและมีเอกราชอย่างแท้จริง ไม่ได้เกิดจากการริเริ่มโดยลำพังของนายารัฐมนตรีเองแต่อย่างใด

  ในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ แม้นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้มีบารมีเนื่องจากบุคลิกส่วนตัว  แต่กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆก็มีบทบาทสูงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ ระบบราชการ พรรคการเมือง หรือกลุ่มธุรกิจ
 ดังนั้น การดำเนินนโยบายต่างประเทศจึงต้องรับฟังเสียงจากกลุ่มต่างๆโดยไม่สามารถตัดสินใจเองอย่างเด็ดขาดเหมือนในสมัยอามาตยาธิปไตรได้ นโยบายหลายเรื่องมาจากริเริ่มของกลุ่มต่างๆดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหากัมพูชา การใกล้ชิดทางทหารกับจีนมากขึ้น ตลอดจนการกลับมามีความร่วมมือทางทหารกับสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผลประโยชน์ของชาติในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทย

  ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ สิ่งแรกที่ต้องตระหนักคือผลประโยชน์ของชาติ ที้งนี้เพราะในการดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น ทุกประเทศต่างก็มีเป้าหมายที่จะแสวงหา รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในด้านต่างๆ ทั้งการเมือง
 การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับกรญีของไทยนัน ผลประโยชน์ของชาติกำหนดอยู่ในนโยบายต่างประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.ผลประโยชน์ด้านเอกราชและความมั่นคง
2.ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ
3.ผลประโยชน์ด้านสังคม
4.ผลประโยชน์ด้านเกียรติภูมิ



1.ผลประโยชน์ด้านเอกราชและความั่นคง
เอกราชและความมั่นคงของชาติเป็นเรื่องด้านการเมืองและการทหารซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ที่สำคัญที่สุดเพราะการเป็นเอกราชหมายถึงการที่รัฐมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง สามารถดำรงความเป็นชาติและสังคมการเมืองของตนไว้ได้ มีอิสระในการดำเนินกิจการทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ส่วนความมั่นคงภายในประเทศ
และระหว่างประเทศก็เป็นหลักประกันความปลอดภัยจาการถูกแทรกแซงและคุกคาม
ของต่างชาติ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินนโยบายใดๆของชาติเป็นไปโดนราบรื่น

  ในสมัยราชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมบูรณาญาสิทธิราชซึ่งเป็นการปกครองเป็นแบบรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่คนๆเดียว เอกราชและความมั่นคงของชาติยึดติดอยู่กับความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์เนื่องจากความเชื่อที่ว่ากษัตริย์เป็นผู้นำในการรวมชาติ สร้างแว่นแคว้น และเป็นผู้ปกครองดูแล ปกป้อง
ค้ำจุนอาณาจักร ทุกสิ่งทุกอย่างในอาญาจักรเป็นของกษัตริย์แต่ผู้เดียว กษัตริย์และสถาบันกษัตริย์จึงมีความสำคัญสูงสุด ถ้าสถาบันขาดความมั่นคงย่อมหมายถึงความอ่อนแอของอาณาจักรไปด้วย การสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่กษัตริย์และราชวงศ์
เพื่อให้เป็นที่เกรงขามของคนในชาติและต่างชาติจึงเป็นนโยบายสำคัญที่ะนำมาซึ่งความมั่นคงและเอกราชของชาติ ซึ่งมีทั้งการประกาศความเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อผู้ใด

    ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นปรัชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 ความเป็ยชาติ กระจ่างชัดเจนชึ้นเอกราชและความมั่นคงของชาติมีความหมายกว่างขวาง
ครอคลุมถึงประชาชนทุกคน ผลประโยชน์ของประชาชนและวัฒนธรรมและ
วัฒนธรรมของประชาชน รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบลสงคราม
ได้ส่งเสริมลัทธิชาตินิยมโดยเน้นที่ความยิ่งใหญ่และความเจริญก้าวหน้าของชาติ
ซึ่งเปลี่ยนจากความจงรักภักดีในองค์พระมหากษัตริย์มาสู่ความรักประเทศโดย
ส่วนร่วม มีการสร้างวัฒนธรรมตามนโยบาย"รัฐนิยม"ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย
วิธีชีวิตประจำวัน และสัญลักษณ์ของชาติ เช่น เพลงชาติเป็นต้น แนวคิดเกี่ยวกับเอกราชแลพความมั่งคงของชาติจึงเป็นเรื่องของการมุ่งรักษาบูรณภาพแห่งดินแดน
ความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายทั้งภายในและภายยอกประเทศ ความกินดีอยู่ดี
และความผาสุกของประชาชน ตลอดจนการรักษาสันติภาพของโลกและความสัมพันธ์อันดีกับนานาชาติ

2.ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการค้า
  การติดต่อกับต่างประเทศด้านการค้าเป็นสิ่งสำคัญและมีมาสมัยโบราณ ไม่ว่า
สุแคว้นสุโขทัย แคว้นลพบุรี แคว้นสุพรรณภูมิ อาณาจักรอยุธยา หรือ
กรุงรัตนโกสินทร์ ต่างก็มีการค้าขายแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจกับอาณาจักรเพื่อน
บ้านและชาวต่างชาติที่มาจากแดนไกล การค้าต่างประเทศนำมาซึ่งความมั่งคั่งของราชสำนักและอาณาจักร ตลอดจนทำให้ได้รับสินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้เองภายใน
ประเทศและได้รับเทคนิควิทยาการในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆจากต่างชาติ เช่น ของป่าประเภทผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เนื้อไม้ สมุนไพรจากล้านนา ดีบุกและตะกั่วาสกหัวเมืองมลายู เครื่องเคลือบดินเผาและผ้าแพรจากจีน ปืนไฟและกระสุนดินดำจากโปรตุเกสเป็นต้น คนไทยยังได้เรียนรู้การทำเครื่องปั่นดินเผาจากจีน การสร้าปืนใหญ่และการทำอาหารจากโปรตุเกสอีกด้วย

   ระบบการค้าในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นแบบผูกขาดโดยราชสำนัก มีการประกาศให้สินค้าออกหลายชนิดเป็นของต้องห้าม เช่น
ดินประสิว ตะกั่ว ดีบุก ไม้เนื้อหอม งาช้าง นอแรด หนังสัตว์ เป็นต้น ซึ่งพระคลังสินค้าเท่านั่นที่จะขายสิ้นค้าเหล่านี้ได้

    ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงกรรัตนโกสินทร์ตอนต้น จีนนับว่าเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย ราชสำนักไทยได้ใช้ระบบบรรณาการเป็นวิธีการเปิดทางติดต่อค้าขายกับ
ราชสำนักจีนเพื่อจะได้รับความสะดวกและผลประโยชน์ด้านการค้ามาโดยตลอด
ซึ่งเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ทางการค้าทำให้ชาวต่างชาติหลายชาติ
หลายชาติเข้ามาตั้งสถานีการค้าและถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในกรุงศรีอยุธยา ทั่งชาวจีน
ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อินเดีย อาหรับ โปรตุเกส ฮอลันดา สเปน อิตาลี ฝรังเศส และชาติอื่นๆ

3.ผลประโยชน์ด้านสังคม
   ในอดีตความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านสังคมมีม่มากนัก แต่ความสัมพันธ์ด้านสังคมมักก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านต่างๆต่อประเทศชาติมากมาย เช่น การเจริญสัมพันธ์ไมตรีด้านพระพุทธศาสนาระหว่างศาสนาระหว่าง
กรุงสุโขทัยกับอาณาจักรล้านนาได้นำมาซึ่งมิตรภาพระหว่างรัฐและความเป็นสุขที่สงบสุขร่มเย็นของพลเมืองของรัฐทั้งสอง ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์ทางด้านสังคม
    ต่อมาในสมัยการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ราษฎรเริ่มมีความสำคัญต่อประทศชาติ
รัฐจึงดำเนินกิจการต่างๆเพื่อสังคมส่วนร่วมมากขึ้น พลเมืองได้รับการดูแลเอาใจใส่ดีขึ้น แทนที่จะทำเพื่อความมั่นคงของชนชั้นปกครองแต่อย่างเดียวเช่นในอดีต
ผลประโยชน์ชาติด้านสังคมจึงเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น การติดต่อด้านสังคมกับตะวันตกทำให้มรการรับเอาศิลปวิทยาการ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ต่างๆเข้ามาสร้างความเจริญให้แก่สังคมไทย
   ในสังคมประชาธิปไตยสมัยปัจจุบันผลประโยชน์ด้านสังคมมีขอบเขตกว้างขวางมาก เพราะผลประโยชน์ของประชาชนครอบคลุมทุกด้านในวิถีชีวิต นับตั้งแต่
ครอบครัว การศึกษา การทำงาน โภชนาการ การกีฬา การสาธารณสุข
การท่องเที่ยว การสื่อสาร การคมนาคม เป็นต้น ผลประโยชน์ด้านสังคมก็คือการมีสังคมที่ดีและการดำรงชีวิตที่ดีตามหลักของสิทธิมนุษยชนนั่นเอง
4.ผลประโยชน์ด้านเกียรติภูมิ
 ในบรรดาผลประโยชน์ทั้งหลายอันได้แก่ เอกราช บูรณภาพดินแดน เศรษฐกิจ สังคม และเกียรภูมิของชาตินั่น เกียรติภูมิหรืศักดิ์ศรีของชาติถือว่ามีความสำคัญน้อย
ที่สุด ในการดำเนินความสัมพันธ์นะหวาางประเทศ ถ้าจะต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติแล้ว บางครั้งก็จำเป็นต้องยอมเสียสละเกียรติศักดิ์ของชาติเพื่อพิทักษ์สิ่ที่สำคัญกว่าและเป็นรูปธรรมกว่า ซึ่งสามารถจับต้องได้ อันมีผลกระทบรุนแรงต่อดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และองค์อธิปัตย์ของรัฐ การหยิ่งในเกียรติภูมิของชาติเหนือผลประโยชน์ใดๆอาจเกิดผลเสียหายอย่งใหญ่หลวงต่อประเทศอย่างร้ายแรง
ในการทำสงครามกับพม่าสมัยพนะเจ้าบุเรงนองเมื่อ พ.ศ. 2106 เมื่อสู้ศึกไม่ได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงยอมสงบศึก โดยมอบพระราเมศวรซึ่งเป็นพระราชโอรส
องค์โตเป็นตัวประกันและถวายช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีพระมหากษัตริย์จำนวน
4 เชือก จากที่มีอยู่ 7 เชือก ให้แก่พระเจ้าบุเร่งนองตามข้อเรียกร้อง ทำให้
กรุงศรีอยุธารอดพ้นจากการเป็นประเทศราชของกรุงหงสาวดีไปได้ แม้จะเสีย
พระเกียรติยศไปบ้างก็ตาม

   ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การที่ไทยยอมเสียประโยชน์ทางการค้าและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาลให้แก่มหาอำนาจต่างๆยอมยกดินแดนประเทศราชให้แก่อังกฤษและฝรัางเศส
เพื่อแลกกับการรักษาเอกราชเอาไว้ไม่ให้มหาอำนาจทั้งสองเข้ามายืดครองินแดนของไทยทั้งหมดเป็นอาณานิคมเหมือนกับประเทศเพื่นบ้าน แม้การดำเนินการในครี้งนี้จะทำให้ไทยเสียเกียรติภูมิเนื่จากเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิมาก่อน แต่อย่างไรก็ตามก็บรรลุเป้าหมายในการรักษาผลประโยชน์ของชาติที่สำคัญกว่านั้นก็คือรักษาเอกราชไว้ได้

   ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครมยอมให้ญี่ปุ่นเกินทัพผ่านประเทศไทยและต่อมายอมเข้าเป็นพันธมิตรร่วมกับญี่ปุ่น พร้อมกับประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษนั้น แม้จะเป็นการถูกบีบบังคับโดยที่ไทยไม่เต็มใจและไม่สามารถขัดขืนได้ ซึ่งเป็นการเสียเกียรติภูมิของชาติแต่ก็ทำให้ไทยรอดพ้นจาการกองทัพญี่ปุ่นทำลายบ้านเมืองและยึดครองเป็นเมืองขึ้น

ความสำคัญของนโยบายต่างประเทศ

การที่นโยบายต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำพันธ์ระหว่างรัฐด้วยกั และระหว่างตัวแสดงต่างๆ(actors) นั้นอาจก่อให้เกิดสันติภาพและความขัดแย้งได้ ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐนั้น โดยหลักการ รัฐจะคำนึกถึง "ผลประโยชน์แห่งชาติ"(national interest)ของรัฐตนเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญ
และในทางปฏิบัติ รัฐมักจะดำเนินนโยบายต่างประเทศให้ฝ่ายตนได้เปรียบหรือได้ประโยชน์มากวกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ

  เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐจึงมีความสำคัญอย่างน้อย 2 ประการคือ

1.การรักษาเอกราชและความมั่นคงของรัฐ
2.การแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐ

1.ในด้านการรักษาเอกราชและความมั้นคงของรัฐ(The preservation of independence and security) นั้นการดำเนินนโยบายต่างประเทศของแต่ระรัฐ จะมุ่งต่อต้านการขยายตัวของรัฐอื่นๆและการเผยแพร่ลัทธิอุดมการณ์ที่รฐเห็น
ว่าเป็นภัยต่อเอกราชและความมั่นคงของตน รัฐจะท่มเททรัพยากรต่างๆในการดำเนินนโยบายต่างประเทศภายใต้สมมติฐานที่ว่า"หากรัฐเกิดความรู้สึกว่าตนเองอยู่ใน
ฐานนะไม่มั่นคง ปลอดภัย ก็จะมุ่งขยายอำนาจของรัฐ"ตัวอย่างก็คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต(ในอดีต)ต่างก็มีฐานะเป็นอภิมหาอำนาจ(Superpowers)ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งมีทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีรัฐใดหรือผู้ใดที่จะทำลายคสามมั่นคงของประเทศอภิมหาอำนาจทั้งสองนี้ได้ แต่ทั้งสองประเทศนี้ต่างก็แข่งขัน
กันพัฒนาอาวุธใหม่ที่ทันสมัยโดยการระดมทรัพยากรธรรมชาติต่างๆอย่างมหศาล
เพื่อประกันฐานะความมั่นคงของตน ซึ่งเท่ากับเป็นการชี้ให้เห็นว่า ยิ่งรัฐพยายามขยายอำนาจของตนมากขึ้นเพียงใด ผู้นำ ชนชั้นผู้นำ และประชาชนก็จะต้องมีส่วนเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ และกิจการระหว่างประเทศในด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น
เท่านั้น ในขณะเดียวกัยมหาอำนาจในระดับรองๆ เช่น สาธารณรัฐ ประชาชนจีน
อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น แม้ว่าไม่ต้องการเป็นผู้นำโลกดังเช่นสหรัฐอเมริกาหรือ
สหภาพโซเวียต ก็ยังดำเนินนโยบายต่างประเทศผูกมิตรกับรัฐต่างๆด้วยประสงค์เพื่อความั่นคงของประเทศเช่นกัน

2. ในด้านการแสวงและคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐ ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐ นอกจากจะให้ความสำคัญต่อความสำคัญต่อความมั่นคง
ของรัฐแล้ว รัฐยังต้องคำนึกถึงผลประโยชน์ทางเศรษกิจเพื่อความสนับสนุนความมั่นคงของรัฐอีกด้วย ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจึงเป็นจึงผลประโยชน์ที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับผลประโยชน์ทางด้านการเมือง ในทางปฏิบัติสงครามและการต่อสู้ทางเศรษฐกิจระหว่างชาติมหาอำนาจจะปราฎให้เห็นในรูปของการค้าขายและการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจนั้น ในแง่หนึ่งก็เพื่อสนับสนุนการแผ่ขยายลัทธิอุดมการณ์และการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมโดยวัตถุ
ประสงค์เพื่อการอิทธิพลของตนในประเทศอื่นๆกล่างคือในรูปแบบการค้ากับ่างประเทศนั้น รัฐจะใช้การค้าเพื่อการเสริมสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและการทำให้รัฐอื่นๆตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการค้าของตน ซึ่งเท่ากับเป็นการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐ เช่น สหรัฐอเมริการจะดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนให้เอกชนของตนเข้าไปลงทุนกิจการอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริการ เช่น ลงทุนด้านกิจการน้ำมันในเวเนซุเอลา ลิเบีย และซาอุดิอาระเบีย ลงทุน
ด้านกิการเหมืองแร่ เกษตรกรรม และโทรศัพท์ในประเทศแถบลาตินอเมริกา
รวมทั้งการเป็นประเทศคู่ค่าที่ได้เปรียบต่อประเทศในแถบลาตินอเมริกา เป็นต้น
นอกจากนี้ ประเทศที่เป็นฝ่ายได้เปรียบมักจะใช้วิธีการต่างๆเพื่อสร้างผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและในทางการเมือง ได้แก่ การยกเว้นอัตราภาษีขาเข้า การตั้งกำแพงภาษี หรือการจำกัดประเภทสินค้าขาเข้าอีกด้วย เป็นต้น การค้าจึงเป็นเครื่งมืออย่างหนึ่งของนโยบายต่างประเทศ

   นอกจากการค้าแล้ว นโยบายการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากบทบาทของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต(ในอดีต)ในการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆที่อยู่ในค่ายของตน ทั้งในรูปของการให้กู้ยืมหรือการให้เปล่า อย่างไรก็ตามในขณะที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจนั้น รัฐให้ความช่วยเหลือก็จะสร้างอิทธิพลทางด้านจิตวิทยาควบคู่ไปด้วย ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ การเผยแพร่อุดมการณ์ลัทธิความเชื่อและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ วิธีการเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้รัฐต่างๆมีทัศนะคติและภาพพจน์ที่ดี ซึ่งเป็นผลให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศสามารถบรรลุผลตามที่ปรารถนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้นมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดนรัฐจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจและการเผยแพร่วัฒนาธรรม ข่างสารต่อรัฐอื่นๆด้วย จึงกล่าวได้ว่าความสำคัญของนโยบายต่างประเทศนั้นนับวันจะเพิ่มขึ้นทุขณะ ทั้งในด้านการรักษาเอกราชและความมั่นคงของรัฐ และในด้านการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งผลประโยชน์อื่นควบคู่กันไปด้วย







แหล่งข้อมูล : เอกสารการสอนชุด คสามสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ความหมายของนโยบายต่างประเทศ

  ความหมายของนโยบายต่างประเทศ
ตัวอย่างความหมายของนโยบายต่างประเทศในทรรศนะของนักสิชาการแต่ละคน
1. ที.บี.มิลลาร์ (T.B.Millar) อธิบายไว้ว่า
"นโยบายต่างประเทศ เป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายต่างๆซึ่งมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลของประเทศหนึกับประเทศอื่นๆ"
2. เค.เจ.โฮลสติ ( K.J.Holsti ) อธิบายไว้ว่า
"นโยบายต่างประเทศ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทซ เพราะนโยบายย่อมหมายถึงการตัดสินใจต่างๆที่มีเป้าหมายเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ ดังนั้นนโยบายต่างประเทศจึงเป็นการกระทำต่างๆของรัฐภายใต้การตัดสินใและนโยบายเพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactions) ระหว่างรัฐด้วยกัน"
3. เคลาส์คนอร์ (Klaus Knorr) อธิบายไว้ว่า
"นโยบายต่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐใช้ทรัพยากรต่างๆของตนในการสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆเพือให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ"
4. เจ.ดี.บี.มิลเลอร์(J.D.B.Miller) อธิบายไว้ว่า
"นโยบายต่างประเทศ หมายถึง พฤติกรรม(ของรัฐ)ที่เป็นการติดต่อกิจการภายในรัฐ"
5. กมล ทองธรรมชาติ อธิบายไว้ว่า
"นโยบายต่างประเทศ ก็คือ ผลรวมของกิจกรรม(activitier) หรือ นโยบายเฉพาะเรื่อง (specifie policies) ต่างๆที่ประเทศหนึ่งๆได้ปฏิบัติไปในเวทีระหว่าง
ประเทศเพื่อรักษาและส่งเสริมต่อประโยชน์ของตน"


คำกำหนดความข้างต้นแสดงให้เห็นทรรศนะที่หลากหลาย อย่างไรก็ดี ไม่ว่านโยบายต่างประเทศจะมีความหมายอย่างไร นโยบายต่างประเทศต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆเหล่านี้ ได้แก่ การตัดสินใจ นโยบาย เป้าหมาย ผลประโยชน์ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ จึงอาจสรุปได้ว่า นโยบายต่างประเทศต่างประเทศ หมายถึง
แนวนโยบายเพื่อการปฏิบัติที่มุ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการตัดสินใจของรัฐอื่นๆเพื่อประโยชน์ของตน การกระทำเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ





แหล่งข้อมูล : เอกสารการสอนชุดวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช