วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กลไกดำเนินงานนโยบายต่างประเทศของไทย

กลไกดำเนินงานนโยบายต่างประเทศของไทย
  นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ไม่มาบรรยากาษทางการเมืองภายในประเทศจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ หน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยก็คือระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และแม้จะเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ในปลายทศวรรษที่ 20 ซึ่งภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปมีบทบาทและมีส่วนร่วมโดยตรงในกิจการระหว่างประเทศมากขึ้นก็ตาม แต่กลไกที่ทำหน้าที่ประจำในการดำเนินนโยบายต่างประเทศก็ยังเป็นระบบราชการอยู่นั้นเอง
ซึ่งองค์กรหรือหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย  ได้แก่

1.ผู้นำรัฐบาล
ผู้นำรัฐบาลอาจเป็นนายนกรัฐมนตรีหรือหัวหนาคณะรํฐประหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับระบอบการปกครองในขณะนั้น ผู้นำรัฐบาลมักมีบทบาทสูงสุดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยอาจจะเป็นผู้กำหนดนดยบายขึ้นเองตามวิสันทัศน์ของตน หรือเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆการกำหนดนดยบายต่างประเทศอาจเป็นการประกาศโดยนายกรัฐมนตรีเองหรือทำเป็นมติของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก็ได้ เช่น จอมพล ป. พิบูลสงครามได้โฆษณาชวนเชื่อนโยบายที่จะสร้างไทยให้เป็นมหาอำนาจในเอเชียคเนย์ในสมันสงครามโลกครั้งที่ 2 พลเอกชาย ขุณหะวัณ ได้ประกาศนโยบายที่จะเปลี่ยนสนามรบในอินโดจีนให้กลายเป็นสนามการค้า เป็นต้น ผู้นำรัฐบาลไม่ได้ทำหน้าที่เพียงหัวหน้าคณะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกิจการระหว่างประเทศของไทยเท่านั้น  แต่ยังอยู่ในฐานะตัวแทนของประชานชนและประเทศไทยในการดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศอีกด้วย การตัดสินใจและการกระทำใดๆไม่ว่าจะโดยลำพังหรือองค์คณะ ผู้บริหารประเทศจึงมีผลผูกมัดต่อประเทศไทยโดยรวม นอกจากการแสดงบทบาทโดยการประกาศนโยบาย  การเข้าร่วมประชุม การเจรจา การทำสนธิสัญญา ตลอดจนการเดินทางไปเยี่ยมมิตรประเทศแล้ว ยังเป็นผู้บังคับบัญชาสั่งการหน่วยงานราชการในการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยทั้งหมดด้วย

2. สภาความมั่งคงแห่งชาติ
   ช่วงที่ทหารมีอำนาจในการปกครองประเทศในยุคสงครามเย็น ไทยมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง นโยบายด้านความมั่นคงทางการเมืองและการทหารเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเหนือด้นเศรษฐกิจและสังคมสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีบทบาทเป็นอย่างมากในการกำหนดแนวนโยบายด้านการต่างประเทศ องค์กรนี้เป็นที่รวมของบุคคลสำคัญด้านความมั่ฃนคงของประเทศ คือ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน และประกอบด้วยกรรมการอันได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขาธิการ ในบางสมัยรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเวลาเดียวกัน เช่น จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น และรองนายกรัฐมนตรีก็ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นกองทัพหลักของประเทศด้วย ซึ่งได้แก่ จอมพลประภาส จารุเสถียร ดังนั้นสภาความมั่นคงจึงเป็นที่รวมสูงสุดของข้อมูลและความลับทางราชการ การประชุมปรึกษาหารือและการตัดสินใจในด้านต่างประเทศจึงอยู่ที่องค์กรนี้

3.กระทรวงการต่างประเทศ
     กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดำเนินนโยบายด้านการติดต่อกับต่างประเทศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผุ้นำนโยบายสรัฐบาลมามอบให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ ภายในกระทรวงมีการแบ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบออกเป็น กรมการกงสุล กรมพิธีการฑูต กรมยุโรป กรมอาเซียน กรมเอเซียตะวันออก กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กรมอเมริกาและ แอฟริการใต้ กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฏหมาย และกรมสารนิเทศ นอกจากนี้ยังมีสถานที่เอกอัครราชฑูตในต่างประเทศ และคณะฑูตไทยถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประจำอยู่นอกประเทศด้วย

4. กระทรวงกลาโหม
    บทบาทด้านการรักษาความมั่นคงของชาติและป้องกันประเทศเป็นภารกิจของกระทรวงกลาโหม ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกเหนือจากการฑูต การค้า กฏหมายและสังคมแล้วการทหารก็นับว่ามีบทบาทมาก ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ได้มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความขัดแย้งและสงครามระหว่างชาติมากที่สุด ทหารจึงมีบทบาทสำคัญในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหลายองค์กรการจัดตั้งในลักษณะพันธมิตรทางทหาร หรือเป็นความร่วมมือด้านความมั่นคง เช่น องค์การสนธิสัญญษป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่งคง เป็นต้นความใกล้ชิดระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาช่วงยุคสงครามเย็ฯก็มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือด้านความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคอมมิวนิสต์ก็ไม่ราบรื่นนัก ประกอบกับผู้นำรัฐบาลหลายสมัยเป็นทหาร ดังนั้นกระทรวงกลาโหมไทยจึงมีบทบาทอย่างมากในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

5. กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการ้ากับต่างประเทศมานานแล้ว แต่ในยุคที่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีครอบงำโลกและการค้าระหว่างประเทศฟุ้งเฟื่องนี้ ิ่งทำให้กระทรวงพาณิชย์มีบทบาทมากขึ้นไปอีก การขยายตัวของธูรกิจและการค้าข้ามชาติทำให้กระทรวงพาณิชย์ต้องเพิ่มการให้บริการทั้งแก่บริษัทไทยและบริษัทต่างชาติ ช่วยพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจการส่งออกของไทย จัดระบบภาษีการค้า และควบคุมดูแลด้านการกฏหมาย หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมทรัพย์สินทางปัญญา

6. กระทรวงอุตสาหกรรม
   การพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกเน้นทั้งด้านการลงทุนจากต่างชาติและการพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมไทยเพื่อการส่งออก ซึ่งในคริต์ศตวรรษที่ 21 นี้ที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนในไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงไปได้แก่ สหรัฐอเมริกา และยุโรป สินค้าอุตสาหกรรมของไทยยังมีน้อยส่วนหนึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหรือสินค้าการเกษตรแปรรูป ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องกระป๋อง ส่วนที่เป็นอุตสาหกรรมเบา ได้แก่ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์เหล็ก


7. กระทรวงแรงงาน
  ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศทำให้คนไทยจำนวนมากเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศและมีปัญหาเศรษฐกิจของเพื่อนบ้านก็ทำให้ชาวต่างชาติอพยพเข้ามาหางานทำไทยมากมาย ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับแรงงานไทยที่อยู่ในต่างประเทศและควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าวในไทย เป็นเรื่องราวของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านสังคม กระกรวงแรงงานจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านกฏหมายและสวัสดิการสังคมแก่แรงงานไทย วางระเบียบกฏเกณฑ์ควบคุมดูแลบริษัทจัดหางานที่ส่งคนงานไปต่างประเทศและติดต่อประสานงานกับรัฐบาลของประเทศผู้รับแรงงานไทย ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจัดการตรวจสอบและจดทะเบียนคนงานให้ถูกต้องตามกฏหมาย จัดส่งที่ลักลอบเข้าเมืองหรือกระทำผิดกฏหมายกลับประเทศ และดูแลให้สวัสดิการการทำงานตามหลักมนุษยธรรม ทั้งนี้เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เกี่ยวข้อง
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น