วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความสำคัญของนโยบายต่างประเทศ

การที่นโยบายต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำพันธ์ระหว่างรัฐด้วยกั และระหว่างตัวแสดงต่างๆ(actors) นั้นอาจก่อให้เกิดสันติภาพและความขัดแย้งได้ ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐนั้น โดยหลักการ รัฐจะคำนึกถึง "ผลประโยชน์แห่งชาติ"(national interest)ของรัฐตนเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญ
และในทางปฏิบัติ รัฐมักจะดำเนินนโยบายต่างประเทศให้ฝ่ายตนได้เปรียบหรือได้ประโยชน์มากวกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ

  เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐจึงมีความสำคัญอย่างน้อย 2 ประการคือ

1.การรักษาเอกราชและความมั่นคงของรัฐ
2.การแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐ

1.ในด้านการรักษาเอกราชและความมั้นคงของรัฐ(The preservation of independence and security) นั้นการดำเนินนโยบายต่างประเทศของแต่ระรัฐ จะมุ่งต่อต้านการขยายตัวของรัฐอื่นๆและการเผยแพร่ลัทธิอุดมการณ์ที่รฐเห็น
ว่าเป็นภัยต่อเอกราชและความมั่นคงของตน รัฐจะท่มเททรัพยากรต่างๆในการดำเนินนโยบายต่างประเทศภายใต้สมมติฐานที่ว่า"หากรัฐเกิดความรู้สึกว่าตนเองอยู่ใน
ฐานนะไม่มั่นคง ปลอดภัย ก็จะมุ่งขยายอำนาจของรัฐ"ตัวอย่างก็คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต(ในอดีต)ต่างก็มีฐานะเป็นอภิมหาอำนาจ(Superpowers)ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งมีทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีรัฐใดหรือผู้ใดที่จะทำลายคสามมั่นคงของประเทศอภิมหาอำนาจทั้งสองนี้ได้ แต่ทั้งสองประเทศนี้ต่างก็แข่งขัน
กันพัฒนาอาวุธใหม่ที่ทันสมัยโดยการระดมทรัพยากรธรรมชาติต่างๆอย่างมหศาล
เพื่อประกันฐานะความมั่นคงของตน ซึ่งเท่ากับเป็นการชี้ให้เห็นว่า ยิ่งรัฐพยายามขยายอำนาจของตนมากขึ้นเพียงใด ผู้นำ ชนชั้นผู้นำ และประชาชนก็จะต้องมีส่วนเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ และกิจการระหว่างประเทศในด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น
เท่านั้น ในขณะเดียวกัยมหาอำนาจในระดับรองๆ เช่น สาธารณรัฐ ประชาชนจีน
อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น แม้ว่าไม่ต้องการเป็นผู้นำโลกดังเช่นสหรัฐอเมริกาหรือ
สหภาพโซเวียต ก็ยังดำเนินนโยบายต่างประเทศผูกมิตรกับรัฐต่างๆด้วยประสงค์เพื่อความั่นคงของประเทศเช่นกัน

2. ในด้านการแสวงและคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐ ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐ นอกจากจะให้ความสำคัญต่อความสำคัญต่อความมั่นคง
ของรัฐแล้ว รัฐยังต้องคำนึกถึงผลประโยชน์ทางเศรษกิจเพื่อความสนับสนุนความมั่นคงของรัฐอีกด้วย ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจึงเป็นจึงผลประโยชน์ที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับผลประโยชน์ทางด้านการเมือง ในทางปฏิบัติสงครามและการต่อสู้ทางเศรษฐกิจระหว่างชาติมหาอำนาจจะปราฎให้เห็นในรูปของการค้าขายและการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจนั้น ในแง่หนึ่งก็เพื่อสนับสนุนการแผ่ขยายลัทธิอุดมการณ์และการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมโดยวัตถุ
ประสงค์เพื่อการอิทธิพลของตนในประเทศอื่นๆกล่างคือในรูปแบบการค้ากับ่างประเทศนั้น รัฐจะใช้การค้าเพื่อการเสริมสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและการทำให้รัฐอื่นๆตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการค้าของตน ซึ่งเท่ากับเป็นการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐ เช่น สหรัฐอเมริการจะดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนให้เอกชนของตนเข้าไปลงทุนกิจการอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริการ เช่น ลงทุนด้านกิจการน้ำมันในเวเนซุเอลา ลิเบีย และซาอุดิอาระเบีย ลงทุน
ด้านกิการเหมืองแร่ เกษตรกรรม และโทรศัพท์ในประเทศแถบลาตินอเมริกา
รวมทั้งการเป็นประเทศคู่ค่าที่ได้เปรียบต่อประเทศในแถบลาตินอเมริกา เป็นต้น
นอกจากนี้ ประเทศที่เป็นฝ่ายได้เปรียบมักจะใช้วิธีการต่างๆเพื่อสร้างผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและในทางการเมือง ได้แก่ การยกเว้นอัตราภาษีขาเข้า การตั้งกำแพงภาษี หรือการจำกัดประเภทสินค้าขาเข้าอีกด้วย เป็นต้น การค้าจึงเป็นเครื่งมืออย่างหนึ่งของนโยบายต่างประเทศ

   นอกจากการค้าแล้ว นโยบายการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากบทบาทของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต(ในอดีต)ในการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆที่อยู่ในค่ายของตน ทั้งในรูปของการให้กู้ยืมหรือการให้เปล่า อย่างไรก็ตามในขณะที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจนั้น รัฐให้ความช่วยเหลือก็จะสร้างอิทธิพลทางด้านจิตวิทยาควบคู่ไปด้วย ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ การเผยแพร่อุดมการณ์ลัทธิความเชื่อและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ วิธีการเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้รัฐต่างๆมีทัศนะคติและภาพพจน์ที่ดี ซึ่งเป็นผลให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศสามารถบรรลุผลตามที่ปรารถนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้นมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดนรัฐจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจและการเผยแพร่วัฒนาธรรม ข่างสารต่อรัฐอื่นๆด้วย จึงกล่าวได้ว่าความสำคัญของนโยบายต่างประเทศนั้นนับวันจะเพิ่มขึ้นทุขณะ ทั้งในด้านการรักษาเอกราชและความมั่นคงของรัฐ และในด้านการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งผลประโยชน์อื่นควบคู่กันไปด้วย







แหล่งข้อมูล : เอกสารการสอนชุด คสามสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น