วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การดำเนินนโยบายต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการระบบการเมืองการปกครองแต่ละสมัย

การดำเนินนโยบายต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการระบบการเมืองการปกครองแต่ละสมัย 

1. สมัยราชาธิปไตย
  ในสมัยโบราณที่ไทยมีการปกครองแบบราชาธิปไตย  อำนาจสูงสุดทางการเมืองอยู่ที่พระมหากษัตริย์
ทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจในเรื่่องต่างๆเกี่ยวกับกิจบ้านการเมือง ดั้งนั้นบทบาทและดำเนินนโยบายต่างประเทศจึงขี้นอยู่กับพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ  หน่วยงาน  กรมกอง หรือเสนาบดี ที่ทรงแต่งตั้งให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการต่างประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น กรมคลั้งซึ่งรับผิดชอบด้านการติดต่อค้าขายกับประเทศก็ดื เจ้าหัวเมืองประเทศราชซึ่งทรงแต่งตั้งหรือยอมรับให้ปกครองแว่นแคว้นที่เข้ามาสวามิภักดิ์อย่างเชียงใหม่หรือปัตตานีก็ดี แล้วแล้วแต่ต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศตาม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสิ่น ทั้งนี้รวมถึงนโยบายความสัมพันธ์ด้านการเมือง  ความมั่งคง การค้าและวัฒนธรรมด้วย การผูกไมตรีเป็นมิตรหรือทำสงครามแผ่ขยายเดชานุภาพการจะเปิดกว้างทางการค้ากับต่างประเทศกับต่างชาติหรือปิดประเทศ ตลอดจนการจะยอมรับหรือกีดกันศาสนา
วัฒนธรรมและเชื้อชาติ ก็ขึ้นอยู่กับพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์เป็นหลัก หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่เพียงดำเนินการให้เป็นไปตามพระบรมราชโองการเท่านั้น ซึ่งจุดมุ่งหมายสำคัญในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่่างประเทศก็คือความมั้้นคงและความยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักร หรือแผ่ขยายพระบรมเดชานุภาพ
 
   สมัยที่พระมหากษัตริย์เข้มแข็ง เจ้านายเชื้อพระวงค์และขุนนางจะมีบทบาทน้อยมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ  โดยจะทำหน้าที่เพียงการกราบบังคมทูลรายงานข้อมูลให้ทรงทราบเพื่อการตัดสินพระทัยแล้วรับไปปฏิบัติ แต่ในบางสมัยที่พระมหากษัตริย์อ่อนแอ เหล่่าพระประยูรญาติและเสนาอำมาตย์บทบาทร่วมในการกำหนดนโยบายต่างประเทศมากขึ้น เช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพพดิ พระราชโอรสองค์รองคือสมเด็จพระมหินทราธิราชทรงมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศแข็งกร้าวต่อพม่าตั้งแต่มิได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาเมื่อพระองค์ได้สลับขึ้นครองราชย์กับพระราชบิดาในครวาที่พระมหาจักรพรรดิทรงถูกพม่าจับตัวไปเป็ฯเชลยศึกยังกรุงหงสาวดีและในคราวที่ทรงออกผนวช พระองค์ยิ่งมีอำนาจอย่างเต็มที่ แม้ภายหลังพระองค์จะถวายราชสมบัติคืนแด่พระราชบิดาแล้วกลับมาเป็นพระมหาอุปราช พนะองค์ก็ยังทรงมีอำนาจมากในที่สุดเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชทรงขึ้นครองราชย์เมทื่อ ค.ศ.2111 ทรงตัดสินพระทัยทำสงครามกับพม่าแทนการอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเร่งน่อง และ กรุงศรีอยุธยาต้องพ่ายแพ้แก่พม่าในปีถัดมา ในพ.ศ.2172 สมัยสมเด้จพระอาทิตยวงศ์แห่งราชวงศ์สุโขทัยมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา สหมุพระกลาโมสุริยวงศ์ก็กุมงานบ้านเมืองและการติดต่อกับต่างชาติโดยเด็ดขาด  ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เจ้าพระยาวิชาแผนทร์ซึ่ง
เป็นฝรั่งที่รั้งตำแหน่งพระยาพระคลังก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสมเด็จพระนารายณ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญสัมพันธ์ไมตรีอย่างใก้ชิดกับฝรั่งเศส เป็นต้น

2. สมัยอำมาตยาธิปไตร
  หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 อำนาจการเมืองมักอยู่ในมือของกลุ่มทหารเพราะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจบ่อยครั้ง มีเพียงช่วงสั้นๆบางเวลาที่นักการเมืองฝ่ายพลเรือนสามารถขึ้นบริหารประเทศได้แต่อย่างไรก็ตามชนชั้นปกครองไม่ว่ากลุ่มใดก็มักจะมาจากข้าราชการหรืออดีตข้าราชการทั้งสิ้น เมื่อผู้นำหรือหัวหน้ารัฐบาลส่วนใหญ่ ตลอดจนคณะรัฐมนตรีหลายคนมาจากทหาร บทบาทของทหารในการกำหนดนโยบายต่างประเทศจึงมีมากกว่ากลุ่มอื่นๆ แม้แต่ข้าราชการพลเรือน รัฐสภาไม่ค่อยได้ทำหน้าที่กลั่นกรองและให้ความเห้นชอบต่อนโยบายต่างประเทศของวรัฐบาลอย่างเต็มที่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าคณะปฏิวัติจะมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด คณะรัฐมนตรีและรัฐสภามีหน้าที่เพียงให้ความเห็นอบต่อนโยบายต่างประเทศที่
ผู้นำรัฐบาลกำหนดมาเท่านั้น

 
  ในสมัยรัฐมนตรี  จอมพลสฤษด์ธนะรัชต์ ได้ใช้หลัการพ่อขุนอุปถัมภ์ในการปกครองประเทศ ซึ่งก็เป็นรูปแบบหนึ่งของเผด็จการทหาร โดยมีคำกล่าวประจำตัวว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียนว"
จอมพลสฤษด์ฝักใฝ่สหรัฐอเมริกาและต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ดังนั้นนโยบายต่างประเทศของไทยที่กำหนดโดยจอมพลสฤษด์จึงได้แก่การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ และประกาศความเป็นศัตรูกับบรรดาประเทศคอมมิวนิสต์ ซึงรวมถึงการขัดขวางการดำเนินงานใดๆที่จะมีสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าจะเป็นการฑูตหรือการค้า ดังนั้นคณะตัวแทนที่ไม่เป็นทางการซึ่งถูกส่งไปสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างลับๆปลายสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อปูทางในทางเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีนจึงถูกจับกุมเมื่อเดินทางกลับประเทศไทยในสมัยจอมพลสฤษด์
และนโยบายดังกล่าวถูกยกเลิกดดยสิ้นเชิง

3.สมัยประชาธิปไตร
  หลังเหตุการณื 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 การกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทยมักไม่ได้ัขึ้นอยู่กับผู้นำทางการเมืองอย่างเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไปแต่มักจะมีตัวแสดงอื่นๆในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างประเทศด้านต่างๆ ตัวแสดงเหล่านี้ได้แก่ พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ กลุ่มผลประโยชน์ และ สื่อมวลชน ซึ่งนับวันจะมีบทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์และหลังการปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูธฉบับ พ.ศ2540
 
   ในสมัยนายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธณณมศักดฺ์ (พ.ศ2516-2517)การดำเนินนโยบายใดๆของรัฐบาลรวมถึงนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล มักจะรับฟังเสียงของนิสิต นักศึกษา ประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์เสมอ และแม้ว่าในช่วงดังกล่าวจะยังใช้รัฐธรรมนูณฉบับ พ.ศ.2515 ที่ให้อำนาจอย่างมากแก่นายกรัฐมนตรี แต่นายสัญญาก็ไม่เคยใช้อำนาจเด็โขาดของนายกรัฐมนตรีเลย ในสมัยดังกล่าวประชาชนมีเสรีภาพที่จะศึกษา ติดตามข่าวสารและแสดงออกเกี่ยวกับต่างประเทศ  ไม่ว่าประเทศนันๆจะมีระบบการเมืองการปกครองแบบใด ซึ่งถือเป็นการสร้างบรยากาศอันดีในการปูพื้นฐานเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในสมัยนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ศึกฤทธ์ ปราโมธ ( พ.ศ. 2518-2519) นโยบายต่างประเทศให้สหรัฐอเมริกาถอนฐานทัพอากาศออกจากประเทศไทยก็ดี นโยบายต่างประเทศในการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูนกับสาธารณประชาชนจีน แม้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกแต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากกะแสเรียกร้องของนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ต้องการให้ไทยดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเป็นกลางและมีเอกราชอย่างแท้จริง ไม่ได้เกิดจากการริเริ่มโดยลำพังของนายารัฐมนตรีเองแต่อย่างใด

  ในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ แม้นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้มีบารมีเนื่องจากบุคลิกส่วนตัว  แต่กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆก็มีบทบาทสูงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ ระบบราชการ พรรคการเมือง หรือกลุ่มธุรกิจ
 ดังนั้น การดำเนินนโยบายต่างประเทศจึงต้องรับฟังเสียงจากกลุ่มต่างๆโดยไม่สามารถตัดสินใจเองอย่างเด็ดขาดเหมือนในสมัยอามาตยาธิปไตรได้ นโยบายหลายเรื่องมาจากริเริ่มของกลุ่มต่างๆดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหากัมพูชา การใกล้ชิดทางทหารกับจีนมากขึ้น ตลอดจนการกลับมามีความร่วมมือทางทหารกับสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง

1 ความคิดเห็น:

  1. Las Vegas' top 10 casino names to play on casino floors
    Las Vegas' top 10 나주 출장안마 casino names 군포 출장샵 to play on casino floors · The Venetian · Bally's Las Vegas · Bellagio Las 나주 출장샵 Vegas · The 경기도 출장샵 Cosmopolitan of 1xbet Las Vegas.

    ตอบลบ