วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผลประโยชน์ของชาติในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทย

  ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ สิ่งแรกที่ต้องตระหนักคือผลประโยชน์ของชาติ ที้งนี้เพราะในการดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้น ทุกประเทศต่างก็มีเป้าหมายที่จะแสวงหา รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในด้านต่างๆ ทั้งการเมือง
 การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับกรญีของไทยนัน ผลประโยชน์ของชาติกำหนดอยู่ในนโยบายต่างประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.ผลประโยชน์ด้านเอกราชและความมั่นคง
2.ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ
3.ผลประโยชน์ด้านสังคม
4.ผลประโยชน์ด้านเกียรติภูมิ



1.ผลประโยชน์ด้านเอกราชและความั่นคง
เอกราชและความมั่นคงของชาติเป็นเรื่องด้านการเมืองและการทหารซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ที่สำคัญที่สุดเพราะการเป็นเอกราชหมายถึงการที่รัฐมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง สามารถดำรงความเป็นชาติและสังคมการเมืองของตนไว้ได้ มีอิสระในการดำเนินกิจการทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ส่วนความมั่นคงภายในประเทศ
และระหว่างประเทศก็เป็นหลักประกันความปลอดภัยจาการถูกแทรกแซงและคุกคาม
ของต่างชาติ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินนโยบายใดๆของชาติเป็นไปโดนราบรื่น

  ในสมัยราชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมบูรณาญาสิทธิราชซึ่งเป็นการปกครองเป็นแบบรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่คนๆเดียว เอกราชและความมั่นคงของชาติยึดติดอยู่กับความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์เนื่องจากความเชื่อที่ว่ากษัตริย์เป็นผู้นำในการรวมชาติ สร้างแว่นแคว้น และเป็นผู้ปกครองดูแล ปกป้อง
ค้ำจุนอาณาจักร ทุกสิ่งทุกอย่างในอาญาจักรเป็นของกษัตริย์แต่ผู้เดียว กษัตริย์และสถาบันกษัตริย์จึงมีความสำคัญสูงสุด ถ้าสถาบันขาดความมั่นคงย่อมหมายถึงความอ่อนแอของอาณาจักรไปด้วย การสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่กษัตริย์และราชวงศ์
เพื่อให้เป็นที่เกรงขามของคนในชาติและต่างชาติจึงเป็นนโยบายสำคัญที่ะนำมาซึ่งความมั่นคงและเอกราชของชาติ ซึ่งมีทั้งการประกาศความเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อผู้ใด

    ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นปรัชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 ความเป็ยชาติ กระจ่างชัดเจนชึ้นเอกราชและความมั่นคงของชาติมีความหมายกว่างขวาง
ครอคลุมถึงประชาชนทุกคน ผลประโยชน์ของประชาชนและวัฒนธรรมและ
วัฒนธรรมของประชาชน รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบลสงคราม
ได้ส่งเสริมลัทธิชาตินิยมโดยเน้นที่ความยิ่งใหญ่และความเจริญก้าวหน้าของชาติ
ซึ่งเปลี่ยนจากความจงรักภักดีในองค์พระมหากษัตริย์มาสู่ความรักประเทศโดย
ส่วนร่วม มีการสร้างวัฒนธรรมตามนโยบาย"รัฐนิยม"ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย
วิธีชีวิตประจำวัน และสัญลักษณ์ของชาติ เช่น เพลงชาติเป็นต้น แนวคิดเกี่ยวกับเอกราชแลพความมั่งคงของชาติจึงเป็นเรื่องของการมุ่งรักษาบูรณภาพแห่งดินแดน
ความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายทั้งภายในและภายยอกประเทศ ความกินดีอยู่ดี
และความผาสุกของประชาชน ตลอดจนการรักษาสันติภาพของโลกและความสัมพันธ์อันดีกับนานาชาติ

2.ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการค้า
  การติดต่อกับต่างประเทศด้านการค้าเป็นสิ่งสำคัญและมีมาสมัยโบราณ ไม่ว่า
สุแคว้นสุโขทัย แคว้นลพบุรี แคว้นสุพรรณภูมิ อาณาจักรอยุธยา หรือ
กรุงรัตนโกสินทร์ ต่างก็มีการค้าขายแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจกับอาณาจักรเพื่อน
บ้านและชาวต่างชาติที่มาจากแดนไกล การค้าต่างประเทศนำมาซึ่งความมั่งคั่งของราชสำนักและอาณาจักร ตลอดจนทำให้ได้รับสินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้เองภายใน
ประเทศและได้รับเทคนิควิทยาการในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆจากต่างชาติ เช่น ของป่าประเภทผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เนื้อไม้ สมุนไพรจากล้านนา ดีบุกและตะกั่วาสกหัวเมืองมลายู เครื่องเคลือบดินเผาและผ้าแพรจากจีน ปืนไฟและกระสุนดินดำจากโปรตุเกสเป็นต้น คนไทยยังได้เรียนรู้การทำเครื่องปั่นดินเผาจากจีน การสร้าปืนใหญ่และการทำอาหารจากโปรตุเกสอีกด้วย

   ระบบการค้าในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นแบบผูกขาดโดยราชสำนัก มีการประกาศให้สินค้าออกหลายชนิดเป็นของต้องห้าม เช่น
ดินประสิว ตะกั่ว ดีบุก ไม้เนื้อหอม งาช้าง นอแรด หนังสัตว์ เป็นต้น ซึ่งพระคลังสินค้าเท่านั่นที่จะขายสิ้นค้าเหล่านี้ได้

    ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงกรรัตนโกสินทร์ตอนต้น จีนนับว่าเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย ราชสำนักไทยได้ใช้ระบบบรรณาการเป็นวิธีการเปิดทางติดต่อค้าขายกับ
ราชสำนักจีนเพื่อจะได้รับความสะดวกและผลประโยชน์ด้านการค้ามาโดยตลอด
ซึ่งเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ทางการค้าทำให้ชาวต่างชาติหลายชาติ
หลายชาติเข้ามาตั้งสถานีการค้าและถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในกรุงศรีอยุธยา ทั่งชาวจีน
ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อินเดีย อาหรับ โปรตุเกส ฮอลันดา สเปน อิตาลี ฝรังเศส และชาติอื่นๆ

3.ผลประโยชน์ด้านสังคม
   ในอดีตความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านสังคมมีม่มากนัก แต่ความสัมพันธ์ด้านสังคมมักก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านต่างๆต่อประเทศชาติมากมาย เช่น การเจริญสัมพันธ์ไมตรีด้านพระพุทธศาสนาระหว่างศาสนาระหว่าง
กรุงสุโขทัยกับอาณาจักรล้านนาได้นำมาซึ่งมิตรภาพระหว่างรัฐและความเป็นสุขที่สงบสุขร่มเย็นของพลเมืองของรัฐทั้งสอง ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์ทางด้านสังคม
    ต่อมาในสมัยการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ราษฎรเริ่มมีความสำคัญต่อประทศชาติ
รัฐจึงดำเนินกิจการต่างๆเพื่อสังคมส่วนร่วมมากขึ้น พลเมืองได้รับการดูแลเอาใจใส่ดีขึ้น แทนที่จะทำเพื่อความมั่นคงของชนชั้นปกครองแต่อย่างเดียวเช่นในอดีต
ผลประโยชน์ชาติด้านสังคมจึงเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น การติดต่อด้านสังคมกับตะวันตกทำให้มรการรับเอาศิลปวิทยาการ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ต่างๆเข้ามาสร้างความเจริญให้แก่สังคมไทย
   ในสังคมประชาธิปไตยสมัยปัจจุบันผลประโยชน์ด้านสังคมมีขอบเขตกว้างขวางมาก เพราะผลประโยชน์ของประชาชนครอบคลุมทุกด้านในวิถีชีวิต นับตั้งแต่
ครอบครัว การศึกษา การทำงาน โภชนาการ การกีฬา การสาธารณสุข
การท่องเที่ยว การสื่อสาร การคมนาคม เป็นต้น ผลประโยชน์ด้านสังคมก็คือการมีสังคมที่ดีและการดำรงชีวิตที่ดีตามหลักของสิทธิมนุษยชนนั่นเอง
4.ผลประโยชน์ด้านเกียรติภูมิ
 ในบรรดาผลประโยชน์ทั้งหลายอันได้แก่ เอกราช บูรณภาพดินแดน เศรษฐกิจ สังคม และเกียรภูมิของชาตินั่น เกียรติภูมิหรืศักดิ์ศรีของชาติถือว่ามีความสำคัญน้อย
ที่สุด ในการดำเนินความสัมพันธ์นะหวาางประเทศ ถ้าจะต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติแล้ว บางครั้งก็จำเป็นต้องยอมเสียสละเกียรติศักดิ์ของชาติเพื่อพิทักษ์สิ่ที่สำคัญกว่าและเป็นรูปธรรมกว่า ซึ่งสามารถจับต้องได้ อันมีผลกระทบรุนแรงต่อดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และองค์อธิปัตย์ของรัฐ การหยิ่งในเกียรติภูมิของชาติเหนือผลประโยชน์ใดๆอาจเกิดผลเสียหายอย่งใหญ่หลวงต่อประเทศอย่างร้ายแรง
ในการทำสงครามกับพม่าสมัยพนะเจ้าบุเรงนองเมื่อ พ.ศ. 2106 เมื่อสู้ศึกไม่ได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงยอมสงบศึก โดยมอบพระราเมศวรซึ่งเป็นพระราชโอรส
องค์โตเป็นตัวประกันและถวายช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีพระมหากษัตริย์จำนวน
4 เชือก จากที่มีอยู่ 7 เชือก ให้แก่พระเจ้าบุเร่งนองตามข้อเรียกร้อง ทำให้
กรุงศรีอยุธารอดพ้นจากการเป็นประเทศราชของกรุงหงสาวดีไปได้ แม้จะเสีย
พระเกียรติยศไปบ้างก็ตาม

   ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การที่ไทยยอมเสียประโยชน์ทางการค้าและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาลให้แก่มหาอำนาจต่างๆยอมยกดินแดนประเทศราชให้แก่อังกฤษและฝรัางเศส
เพื่อแลกกับการรักษาเอกราชเอาไว้ไม่ให้มหาอำนาจทั้งสองเข้ามายืดครองินแดนของไทยทั้งหมดเป็นอาณานิคมเหมือนกับประเทศเพื่นบ้าน แม้การดำเนินการในครี้งนี้จะทำให้ไทยเสียเกียรติภูมิเนื่จากเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิมาก่อน แต่อย่างไรก็ตามก็บรรลุเป้าหมายในการรักษาผลประโยชน์ของชาติที่สำคัญกว่านั้นก็คือรักษาเอกราชไว้ได้

   ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครมยอมให้ญี่ปุ่นเกินทัพผ่านประเทศไทยและต่อมายอมเข้าเป็นพันธมิตรร่วมกับญี่ปุ่น พร้อมกับประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษนั้น แม้จะเป็นการถูกบีบบังคับโดยที่ไทยไม่เต็มใจและไม่สามารถขัดขืนได้ ซึ่งเป็นการเสียเกียรติภูมิของชาติแต่ก็ทำให้ไทยรอดพ้นจาการกองทัพญี่ปุ่นทำลายบ้านเมืองและยึดครองเป็นเมืองขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น